







โรงเรือนทดสอบพันธุ์กุหลาบตัดดอก



เรือนดอกไม้


เหตุที่เรียกกุหลาบก็เนื่องมาจากกุหลาบที่ปลูกในสวนแห่งนี้ เป็นกุหลาบที่นำเข้าจากประเทศอังกฤษโดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิ โครงการหลวง ซึ่งสายพันธุ์ที่นำเข้ามาปลูกนั้นมีมากกว่า 200 กว่าสายพันธุ์ ในช่วงเดือนมกราคมสวนแห่งนี้จะเต็มไปด้วยดอกซากุระแท้ที่บานสะพรั่ง
โรงเรือนรวบรวมพันธุ์ผัก















อีกหนึ่งจุดบนดอยอ่างข่างที่มีความงดงามเป็นจุดดชมพระอาทิตย์ขึ้นเคล้าสายหมอก ได้เห็นบรรยากาศของริ้วลายของแปลงชาไล่ระดับในมุมสูงอันสวยงาม ไร่ชาสองพันจะอยู่อยู่ทางซ้ายมือก่อนถึงบ้านนอแล จะไม่มีป้ายบอกเมื่อไปถึงในบริเวณนั้นให้สอบถามไปยังชาวบ้าน หากมาเที่ยวที่นี่ให้ได้บรรยากาศงดงามควรมาถึงประมาณ 6.30 น.




ไร่สตรอว์เบอร์รี่ที่ปลูกตามไหล่ขั้นเป็นขั้นบันไดลดหลั่นกันลงมา หากในยามเช้าประมาณ 7 โมงกว่า จะได้พบกับแสงแดดอุ่นพาดผ่านสายหมอกในยามเช้า ตามไหล่เขาที่อยู่เบื้องหลัง และยังได้เห็นวิถีชีวิตชาวบ้านที่มาเก็บสตรอว์เบอร์รี่ในยามเช้าด้วย นอกจากนี้ยังสามารถเลือกซื้อสตรอว์เบอร์รี่ สดๆได้จากสวน รสชาติหวานกรอบอร่อย








เป็นจุดชมวิวที่ไม่ค่อยจะมีคนรู้จักซักเท่าไหร่ เพราะอยู่ทางไป อ.เชียงดาว อยู่ห่างจากด่านตรวจตรงสามแยกอ่างขาง ไปประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม จนได้ชื่อว่าเป็น ลำธารแห่งสายหมอก มีทะเลหมอกอลังการฉากหลังเป็นทิวเขาสูงสง่า ด้านล่างเป็นหมู่บ้านสุ่ยถัง รีวิวเพิ่มเติม คลิ๊ก จุดชมวิวซุยถัง











ถนนคนเดินแห่งนี้ตั้งอยู่ด้านหน้าสถานีเกษตร โดยเปิดขายตลอดทั้งวัน แต่จะเริ่มคึกคักในช่วงเย็น โดยมีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งร้านขายของกันมากมาย ทั้งของคาวหวาน รวมถึงร้านอาหารต่างๆ มีของใช้แบบพื้นบ้านงานฝีมือสินค้าแฮนด์เมดต่างๆ มากมาย ทั้งเสื้อผ้าเครื่องประดับแบบชาวเขาก็มีให้เลือกซื้อ รวมถึงผักผลไม้ ทั้งแบบสดและแบบแห้ง ยามค่ำคืนมาเดินเล่นช๊อปปิ้ง จิบเครื่องดื่มอุ่น ๆ ทั้ง นมร้อน น้ำขิง ชาปากี โรตี ช่วยให้คลายหนาว
ตั้งอยู่บริเวณสันขอบอ่างระหว่างพื้นที่ดอยอ่างขางและอำเภอฝาง โดยอยู่ห่างจากสถานีฯออกไปประมาณ 4 กิโลเมตรเป็นหมู่บ้านของ ชาวมูเซอดำที่มี วัฒนธรรมความเป็นอยู่เรียบง่าย ซึ่งภายในหมู่บ้านจะมีศูนย์หัตถกรรมที่จำหน่ายสินค้าที่ระลึก เช่น กำไลหญ้าอิบูแค ตะกร้าสาน ฯลฯหมู่บ้านคุ้มบ้านคุ้มจะ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าสถานีฯ ซึ่งประกอบไปด้วยคนหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยใหญ่ ชาวพม่า และชาวจีนฮ่อ โดยส่วนมากชาวบ้านจะประกอบอาชีพ ด้านการค้า เช่น การขายของที่ระลึก ผลไม้ดอง แช่อิ่ม เปิดบริการด้านอาหารและที่พักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวหมู่บ้านหลวง
เป็นหมู่บ้านของชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีน ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอาชีพหลักของชาวบ้าน จะเป็นอาชีพด้านการเกษตร ซึ่งจะปลูก ผลไม้ อาทิเช่น พีช พลัม สาลี่ นอกจากนี้ภายในหมู่บ้านยังมีที่พัก ร้านอาหารจีนยูนาน จำหน่ายข้าวซอยและ ซาลาเปารสชาดดีสไตล์จีนยูนาน ให้นักท่องเที่ยวได้ลองชิมอีกด้วย
ปัจจุบันบ้านพักของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ไม่ได้เปิดให้บริการเข้าพักแล้ว แต่ที่พักรอบสถานี รบกวนโทรสอบถามไปยังที่พักแต่ละแห่งโดยตรงว่ามีที่ใดให้บริการบ้าง แต่สำหรับพื้นที่กางเต้นท์นอกสถานีตามจุดต่างๆ ยังให้บริการตามปกติ
ที่พักใกล้สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
– รีสอร์ทธรรมชาติอ่างขาง โทร 053 450 110 https://www.mosaic-collection.com
– อ่างขางวิลล่า โทร 081 556 5892
– บ้านพักเลาติง โทร 053 450 005 https://www.laotinghotel.com/
– บ้านพักจี๊ดจ๊าด โทร 053 450 009 เฟสบุค คลิ๊ก
– อ่างขางบ้านสวน โทร 053-450007 086-1818221 089-9501667 เฟสบุค คลิ๊ก
– อ่างขางเมาท์เท่นวิวรีสอร์ท (บ้านพักสุวรรณภูมิ) โทร 053 450 045,062 214 5298, 061 289 4121 เฟสบุค คลิ๊ก
– บ้านพักฉันทนา โทร 08 9952 6971 เฟสบุค คลิ๊ก
– บ้านพักนาหา โทร 053 450 008 เฟสบุค คลิ๊ก
– บรรจงวิวสวย โทร 081 998 6848, 081 602 5238
ที่พักที่อยู่ห่างมาจากสถานีฯ
– บ้านหลวง รีสอร์ท โทร 081 881 8114 เฟสบุค คลิ๊ก
– ณิชารีย์ บ้านขอบด้ง โทร 086- 181- 5648
บนดอยอ่างขางมีที่ให้กางได้หลายจุดโดยแต่ละจุดไม่เปิดให้รับจองล่วงหน้า สามารถไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ดูแลได้เลย โดยในช่วงฤดูการท่องเที่ยวจะมีร้านค้า ร้านอาหารตั้งอยู่บริเวณจุดชมวิวหลายร้าน โดยจุดกางเต็นท์มีดังนี้
- ฐานปฏิบัติการดอยอ่างขาง และจุดชมวิวม่อนสน อยู่ด้านข้างฐานปฏิบัติการอ่างขาง ก่อนถึงสถานีเกษตรหลวงอ่างขางประมาณ 2 กิโลเมตร
- ลานกางเต็นท์โครงการหลวง ก่อนถึงสถานีเกษตรหลวงอ่างขางประมาณ 1 กิโลเมตร
- หน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะ อยู่เลยทางเข้าสถานีเกษตรหลวงอ่างขางประมาณ 500 เมตร
- จุดชมวิวขอบด้ง จุดชมวิวดูพระอาทิตย์ขึ้น
- ฐานปฏิบัติการบ้านนอแล อยู่ในค่ายทหารใกล้ชายแดนไทย – พม่า อยู่ห่างจากสถานีใกล้กับไร่สตรอว์เบอรี่นอแล
1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
– มาจาก จ.เชียงใหม่โดยใช้ทางหลวง 107 จนถึง อ.เชียงดาว เลี้ยวซ้ายที่แยกเมืองงายเชื่อมกับทางหลวงหมายเลข1178(1340เดิม) ขึ้นอ่างขาง ได้ตามปกติเหมือนเดิม
– มาจากฝางหรืออำเภอไชยปราการ สามารถใช้ถนนเส้น 1249 เส้นทาง แม่งอน – หนองเต่า ที่ขึ้นจาก อ.ฝาง ได้แล้ว หลังจากมีข่าวปิดเส้นทาง
2. รถสาธารณะ
1.โดยรถประจำทาง
จากจังหวัดเชียงใหม่มาลงยังปากทางขึ้นดอยอ่างขาง สามารถไปขึ้นรถได้ที่
– คิวรถช้างเผือก มีทั้งรถตู้ (ราคา 150 บาท) และรถบัสคันใหญ่ (ราคา 85 บาท)
-จากทางขึ้นอ่างขาง กม. 137 มีรถคิวสองแถวบริการ รับ-ส่ง นักท่องเที่ยวที่ไม่ขับรถขึ้นดอยเอง รถคิวสองแถวสีขาวปากทางอ่างขาง (วัดหาดสำราญ)
สำหรับผู้ที่ไม่มีรถส่วนตัวและต้องการไปเที่ยวยังจุดต่างๆบนดอยอ่างขาง สามารถเหมารถสองแถวเที่ยวได้ โดยมีรถสองแถวให้บริการบริเวณหน้า สถานีหลายครั้ง สามารถเดินเข้าไปสอบถามราคานำเที่ยวได้ ราคาจะอยู่ที่ 1200 บาท up
สามารถขึ้นได้สองทาง คือ
– จากอำเภอเชียงดาวถนนเส้นเลี่ยงเมืองสามารถเลี้ยวซ้ายมา ทางบ้านอรุโณทัยขับมาเรื่อย ๆ ขึ้นเขาทางอาจจะแคบหน่อยแต่ไม่ชันมากมีป้ายบอก ตลอดทาง(แนะนำให้เ ดินทางช่วงกลางวัน)
– อีกเส้นทางขับผ่านอำเภอเชียงดาวมาทาง อ.ไชยปราการ-ฝาง ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ทางโค้งจะเยอะกว่า ขับเรื่อยมาอีกประมาณ 70 กม. สังเกตทางขึ้นตรง ปากทางจะมีวัดหาดสำราญอยู่ เลี้ยวซ้ายขับมาอีกประมาณ 25 กม. เส้นทางนี้จะลาดชันมาก (กม.ที่ 14-18) ควรขับด้วยความระมัดระวังและเช็คสภาพรถ ให้พร้อม2. รถสาธารณะ
1.โดยรถประจำทาง
จากจังหวัดเชียงใหม่มาลงยังปากทางขึ้นดอยอ่างขาง สามารถไปขึ้นรถได้ที่
– คิวรถช้างเผือก มีทั้งรถตู้ (ราคา 150 บาท) และรถบัสคันใหญ่ (ราคา 85 บาท)
-จากทางขึ้นอ่างขาง กม. 137 มีรถคิวสองแถวบริการ รับ-ส่ง นักท่องเที่ยวที่ไม่ขับรถขึ้นดอยเอง รถคิวสองแถวสีขาวปากทางอ่างขาง (วัดหาดสำราญ)
สำหรับผู้ที่ไม่มีรถส่วนตัวและต้องการไปเที่ยวยังจุดต่างๆบนดอยอ่างขาง สามารถเหมารถสองแถวเที่ยวได้ โดยมีรถสองแถวให้บริการบริเวณหน้า สถานีหลายครั้ง สามารถเดินเข้าไปสอบถามราคานำเที่ยวได้ ราคาจะอยู่ที่ 1200 บาท up
